มองตลาดหนังสือไทยในมิติ
ความหลากหลาย ราคา และผู้ผลิต

คุณจับ หนังสือเล่ม
ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่?
คำตอบแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป แต่หากดูจากภาพรวม จะเห็นว่ายอดขายหนังสือในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ระหว่าง ปี 2556-2566 ค่อนข้างทรงตัว ซึ่งอาจสะท้อนถึงความต้องการหนังสือเล่มของกลุ่มนักอ่านที่ยังคงมีอยู่ และทำให้อุตสาหกรรมหนังสือยังพอไปต่อได้
ที่มา: สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT)
ยอดขายหนังสือจากงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
10 ปีย้อนหลัง
อย่างไรก็ตาม…หากดูกันที่พฤติกรรมการอ่าน ดูเหมือนว่าคนอ่านหนังสือเล่มจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ จากการสอบถามผู้เข้าร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและมหกรรมหนังสือระดับชาติ ช่วงปี 2560-2566 พบว่า จำนวนหนังสือที่คนอ่านเฉลี่ยต่อเดือนในช่วง 6 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มลดลง
สถานการณ์ปัจจุบันนี้ทำให้เห็นว่าแม้หนังสือเล่มจะยังคงขายได้ แต่คนอ่านกลับมีแนวโน้มลดลง
ที่มา: สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT)
หมายเหตุ: ข้อมูลจากผลสำรวจผู้ตอบแบบสอบถาม 1,120 คน (60) 1,097 คน (61) 450 คน (62) 454 คน (63) 1,383 คน (65) และ 1,696 คน (66)
สัดส่วนการอ่านหนังสือต่อเดือน สำรวจจากผู้เข้าร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและมหกรรมหนังสือระดับชาติ
อ่านไม่เกิน 2 เล่มเพิ่มขึ้น
อ่านตั้งแต่ 3 เล่มขึ้นไปน้อยลง
ตลาดหนังสือไทย มีอะไรให้อ่านบ้าง?
พฤติกรรมการอ่านที่เปลี่ยนไปอาจเกิดจากสาเหตุอันหลากหลาย แต่หนึ่งในปัจจัยสำคัญคงหนีไม่พ้น หนังสือที่มีอยู่ในตลาดเราจึงอยากชวนทุกคนมาสำรวจมิติรอบ ๆ ชั้นวางหนังสือที่มี ความหลากหลายทั้งในแง่หมวดหมู่ ราคา และสำนักพิมพ์ ซึ่งหลายคนอาจยังไม่เคยสังเกตเห็นในภาพรวมมาก่อน
ถ้าต้องเลือกซื้อหนังสือสักเล่มคุณอยากได้หนังสือแบบไหน ?
หมวดหมู่
ช่วงราคา
สำนักพิมพ์
ขนาด (แบ่งตามรายได้ต่อปี)
เล็ก
กลาง
ใหญ่
ไม่มีข้อมูล
ที่มา: รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และร้านหนังสือศูนย์หนังสือจุฬาฯ ตั้งแต่ ปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566 จำนวนรวมทั้งสิ้น 86,070 ปก
หมวดหมู่
ขนาดสำนักพิมพ์ที่เลือก
ทุกขนาด
ช่วงราคา(บาท)
ทุกราคา
ตลาดหนังสือไทย
มีหมวดหมู่อะไร
ให้เลือกอ่านบ้าง?
จากข้อมูลหนังสือทั้งหมด 87,310 รายการ นับรวมทั้งหนังสือเล่มเดี่ยวและหนังสือชุด (Box set) หนังสือในหมวดหมู่ นวนิยายและการศึกษา นับว่ามีจำนวนมากที่สุด อยู่ที่ 22,072 และ 14,315 รายการ ตามลำดับ ขณะที่หนังสือจากหมวด การออกแบบและตกแต่งบ้าน และแม่และเด็ก เป็น 2 หมวดหมู่ที่มีจำนวนหนังสือน้อยที่สุด เพียง 624 และ 835 รายการ ตามลำดับ
ที่มา: รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และร้านหนังสือศูนย์หนังสือจุฬาฯ ตั้งแต่ ปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566
จำนวนและสัดส่วนหนังสือทั้งหมดในฐานข้อมูล
จำแนกตามหมวดหมู่
87,310 รายการ
และเมื่อเทียบดูย้อนหลัง...จะเห็นว่าแม้จำนวนหมวดหนังสือแต่ละปีจะมีความหลากหลายค่อนข้างสม่ำเสมอ แต่สัดส่วนหนังสือในหมวดต่าง ๆ อาจเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เช่น หนังสือในหมวดการ์ตูน ที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2563 หรือ หนังสือในหมวดนวนิยาย ที่แทบไม่มีในปี 2548-2549 แต่เพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา ซึ่งอาจนำไปสู่การตั้งคำถามต่อได้ว่า ณ ช่วงเวลานั้น ๆ มีบริบทอะไรที่ทำให้หนังสือการ์ตูนและนวนิยายมีจำนวนรายการเพิ่มมากขึ้น
ที่มา: รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และร้านหนังสือศูนย์หนังสือจุฬาฯ ตั้งแต่ ปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566
สัดส่วนหนังสือแต่ละหมวดหมู่ในช่วงปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566
แตะเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ในมิติหมวดหมู่ จะเห็นได้ว่าตลาดหนังสือเล่มไทยมีตัวเลือกมากมายให้ผู้อ่านได้เลือกซื้อ
แต่หากมองในแง่พฤติกรรม ข้อมูลจากการสอบถาม ทำให้เห็นว่า หมวดหมู่หนังสือที่คนไทยให้ความสนใจใน ช่วง 7-8 ปีให้หลังกลับไม่ได้หลากหลายนัก โดยมีหนังสือเพียงไม่กี่หมวดหมู่ที่เป็นที่นิยมในหมู่นักอ่าน
อย่างไรก็ตาม แม้จะพอเทียบเคียงได้หมวดหมู่ที่มีการสำรวจในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติและงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติอาจไม่ตรงตามข้อมูลหมวดหมู่ที่ถูกแบ่งในงานชิ้นนี้ทั้งหมด ดังนั้น ข้อมูลจากการสอบถามโดยสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) จึงอาจไม่สามารถสะท้อนความนิยมที่ผู้อ่านมีต่อทุกหมวดหมู่ตามที่งานชิ้นนี้แบ่งได้
ที่มา: สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT)
หมายเหตุ: ผลสำรวจตั้งแต่ปี 2559-2564 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,383 กลุ่มตัวอย่าง
สัดส่วนหมวดหมู่หนังสือที่มีผู้อ่านมากที่สุด
จากงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ
และงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ
ช่วงปี 2559-2564
แตะเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
จากสถานการณ์ ณ ปัจจุบัน เราคงเห็นแล้วว่าแม้ตลาดหนังสือเล่มไทยจะมีความหลากหลาย
ในแง่หมวดหมู่ แต่ก็ไม่ใช่หนังสือทุกประเภทที่จะได้รับความนิยม…
งั้นเราไปสำรวจกันต่อดีกว่าว่าน่าจะมีปัจจัยอะไรอีกบ้าง ที่ส่งผลต่อพฤติกรรม
ของผู้อ่านและอาจทำให้หนังสือบางประเภทไม่ได้รับความนิยม
หนังสือ ราคาเท่าไหร่
ที่เรายินดีจ่าย?
อีกหนึ่งปัจจัยหลักที่นักอ่านส่วนใหญ่น่าจะคิดคำนวณ เวลาอยากซื้อหนังสือสักเล่ม ก็คงไม่พ้นเรื่อง ราคา
จากข้อมูลหนังสือเล่มเดี่ยวในไทยจำนวน 86,070 ปก
ที่ตีพิมพ์ในปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566 มีราคากลาง (ค่ามัธยฐาน) ที่
199 บาท
หากแบ่งราคาหนังสือออกเป็นช่วง จะพบว่าหนังสือ เล่มเดี่ยว มีจำนวนมากที่สุดอยู่ในช่วงราคา 101-200 บาท โดยหนังสือที่ราคาแพงที่สุดมีราคาอยู่ที่ 5,555 บาท (ปฏิมากรรมแห่งโชคเล่มแรก ชุดปัญจภาคีเหรียญทองคำ โดย ดร.โชค บูลกุล จัดเป็นหนังสือในหมวดศาสนา)
ที่มา: รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และร้านหนังสือศูนย์หนังสือจุฬาฯ ตั้งแต่ ปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566
จำนวนและสัดส่วนหนังสือเล่มเดี่ยวในฐานข้อมูล จำแนกตามช่วงราคาปก
ทั้งหมด 86,070 ปก
ขณะที่ข้อมูลหนังสือชุด (Box set) ในไทยจำนวน 1,240 ชุด ที่ตีพิมพ์ในปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566 มีราคากลางที่ 500 บาท
และหากแบ่งราคาหนังสือออกเป็นช่วงจะพบว่าหนังสือชุด (Box set) มีจำนวนมากที่สุดอยู่ในช่วงราคา 301 - 400 บาท โดยหนังสือที่ราคาแพงที่สุดมีราคาอยู่ที่ 11,375 บาท (ภาษาสนุกกับบุคคลสำคัญ จำนวน 26 เล่ม โดยบริษัท อินทร์ณน ผู้จัดทำหนังสือ จำกัด จัดเป็นหนังสือในหมวดหนังสือเด็ก)
ที่มา: รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และร้านหนังสือศูนย์หนังสือจุฬาฯ ตั้งแต่ ปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566
จำนวนและสัดส่วนหนังสือชุด (Box set) ในฐานข้อมูลจำแนกตามช่วงราคาชุด
ทั้งหมด 1,240 ชุด
เห็นราคาแบบนี้แล้ว
คิดว่าหนังสือเล่มไทย
แพงหรือไม่?
เพื่อตอบคำถามเรื่องความสามารถในการซื้อ (Affordability) ลองมาดูตัวอย่างการเปรียบเทียบราคากลางของหนังสือเล่มเดี่ยว ในช่วงปี 2548-2565 กับค่าแรงขั้นต่ำใน กทม. จะเห็นได้ว่า ราคากลางของหนังสือในแต่ละปีมีสัดส่วนสูงเกินกว่าครึ่งหนึ่งของค่าแรงขั้นต่ำในกรุงเทพมหานคร โดยทั้งสิ้น ซึ่งอาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า โดยเฉลี่ยแล้วหนังสือมีราคาอยู่ในระดับที่ผู้มีรายได้น้อยในเมืองใหญ่อย่าง กทม. อาจไม่สามารถซื้อได้โดยทันที หรืออาจต้องคิดหนักเพื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในแต่ละวัน
ที่มา: ค่าแรงขั้นต่ำในกรุงเทพมหานคร จากฐานข้อมูลอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จำแนกตามจังหวัด กระทรวงแรงงาน
ราคากลางของหนังสือเล่มเดี่ยวเปรียบเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำในกรุงเทพมหานคร
แตะเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
2555
ค่าแรงขั้นต่ำ
261
บาท/วัน
2555
ราคากลาง
261
บาท/เล่ม
2555
ค่าแรงขั้นต่ำ
261
บาท/วัน
2555
ราคากลาง
261
บาท/เล่ม
เมื่อลองเทียบกับงบประมาณการซื้อหนังสือของนักอ่านทั่ว ๆ ไปที่มาร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและมหกรรมหนังสือระดับชาติ จากการสำรวจของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย(PUBAT) จะเห็นว่า ช่วงปีหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผู้ที่ตอบแบบสอบถามว่า วางแผนงบประมาณซื้อหนังสือต่อเดือนในจำนวนเงินสูง ตั้งแต่ 1,001 บาท ขึ้นไปมีสัดส่วนลดลง ซึ่งอาจสันนิษฐานต่อได้ว่าช่วงหลังโควิด-19 คนทั่วไปเต็มใจจะแบ่งค่าใช้จ่ายไปกับการซื้อหนังสือลดลงหรือต้องแบ่งงบไปให้ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่มองว่าจำเป็นมากกว่า
ที่มา: สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT)
หมายเหตุ: ผลสำรวจในปี 2560-2566 จากผู้ตอบแบบสอบถาม 1,696 คน ในแต่ละปี โดยในปี 2564 ไม่มีการสำรวจในช่วงโควิด และปี 2565 มีตัวเลือกในแบบสอบถามแตกต่างจากปีอื่น จึงไม่สามารถแสดงผลร่วมกันได้
ผลสำรวจงบประมาณการซื้อหนังสือต่อเดือน
แตะเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
บาท/เดือน
%
จากข้อมูลหนังสือเล่มเดี่ยวในไทยจำนวน 86,070 ปก ที่ตีพิมพ์ในช่วงปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566 จะเห็นได้ว่า หากมองแยกออกเป็นหมวดหมู่หนังสือแต่ละหมวดล้วนมีราคากลางที่แตกต่างกันออกไป
ราคากลางของหนังสือเล่มจะอยู่ที่ประมาณ 100-250 บาท โดยหนังสือเด็กและการ์ตูนเป็นหมวดหมู่ที่มีราคากลางถูกที่สุดอยู่ที่ 115 และ 135 บาท ตามลำดับ ขณะที่หนังสือในหมวดการออกแบบและตกแต่งบ้าน ท่องโลกกว้าง และนวนิยาย เป็น 3 หมวด ที่มีราคากลางสูงที่สุดอยู่ที่ 250 และ 259 บาท ตามลำดับ
ที่มา: รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และร้านหนังสือศูนย์หนังสือจุฬาฯ ตั้งแต่ ปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566
ราคากลางของหนังสือแต่ละหมวดหมู่เฉลี่ยตั้งแต่ ปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566

และในกรณีหนังสือบางหมวดหมู่ นอกจากจะมีจำนวนไม่มากแล้วราคายังค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับหมวดหมู่อื่น ๆ อย่างเช่น หมวดการออกแบบและตกแต่งบ้าน ซึ่งมีจำนวนปกในตลาดน้อยที่สุด และเป็นหมวดหมู่ที่มีราคากลางสูงที่สุด
ที่มา: รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และร้านหนังสือศูนย์หนังสือจุฬาฯ ตั้งแต่ ปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566
ราคากลางของหนังสือแต่ละหมวดหมู่เทียบกับสัดส่วนปริมาณหนังสือเฉลี่ย
แตะเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ด้วยปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลให้แม้ในตลาดจะมีหนังสืออยู่หลากหลาย แต่นักอ่านอาจไม่สามารถเข้าถึงหนังสือบางหมวดหมู่ที่มีจำนวนน้อยและราคาสูงได้
โดยข้อจำกัดเรื่องความหลากหลายของหมวดหมู่และราคานี้ ส่วนหนึ่งก็สืบเนื่องมาจากเงื่อนไขของผู้ผลิตด้วย เราไปสำรวจต่อกันเลยดีกว่า..
บริบทฝั่งผู้ผลิต ส่งผลต่อความหลากหลายและราคาอย่างไรบ้าง?
รายการหนังสือทั้งหนังสือเล่มเดี่ยวและหนังสือชุด (Box set) ที่เราทำการสำรวจในตลาดของไทยมีอยู่ 28,693 รายการ มาจากสำนักพิมพ์ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) จำนวนทั้งหมด 280 แห่ง โดยแบ่งออกเป็นสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ 7 แห่ง สำนักพิมพ์ขนาดกลาง 26 แห่ง และสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก 247 แห่ง
ที่มา: สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT)
จำนวนสำนักพิมพ์จำแนกตามขนาด

สำนักพิมพ์แต่ละขนาดมีการผลิตหนังสือที่จำแนกออกเป็นหมวดหมู่ในสัดส่วนที่ต่างกันออกไป
โดยสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่และขนาดกลางแม้มีการจัดพิมพ์หนังสือทุกหมวดหมู่ แต่จะเห็นว่ามีตลาดผู้อ่านที่ชัดเจนและแตกต่างกัน อย่างสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ มีสัดส่วนการผลิตหนังสือหมวดหมู่การศึกษาเป็นหลัก ขณะที่สำนักพิมพ์ขนาดกลาง มีสัดส่วนการผลิตหนังสือหมวดหมู่นวนิยายเป็นส่วนมาก ตามมาด้วยหมวดการศึกษา และหนังสือเด็ก สิ่งนี้ส่งผลให้หนังสือจากหมวดหมู่อื่น ๆ ไม่ถูกผลิตจากสำนักพิมพ์ ทั้งสองขนาดมากนัก
อย่างไรก็ตาม การที่สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่และขนาดกลางเลือกโฟกัสกับหนังสือ เฉพาะ 2-3 หมวดหมู่ อาจมีส่วนช่วยให้สำนักพิมพ์ขนาดเล็กตัดสินใจเลือกผลิต หนังสือให้กับตลาดผู้อ่านที่สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่และขนาดกลางไม่ได้โฟกัสได้เช่น หมวดหมู่ประวัติศาสตร์ สุขภาพ ความงามและอาหาร หรือ ศาสนา ฯลฯ ซึ่งสำนักพิมพ์ขนาดเล็กผลิตในสัดส่วนที่ มากกว่าสำนักพิมพ์ขนาดอื่น ๆ บริบทนี้นับเป็นกลไกที่มีส่วนช่วยให้ตลาดหนังสือในไทยมีความหลากหลายในแง่หมวดหมู่
ที่มา: รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และร้านหนังสือศูนย์หนังสือจุฬาฯ ตั้งแต่ ปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566
สัดส่วนหมวดหมู่หนังสือ จำแนกตามขนาดสำนักพิมพ์

สำนักพิมพ์ใหญ่ หมวด
สำนักพิมพ์กลาง หมวด
สำนักพิมพ์เล็ก หมวด
ราคาของหนังสือที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์
แต่ละขนาด ก็มีความต่างกัน
จากข้อมูลหนังสือเล่มเดี่ยวที่มาจากสำนักพิมพ์ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) จำนวน 27,985 ปก เราอาจตั้งข้อสังเกตได้ว่า ราคาหนังสือในภาพรวมของสำนักพิมพ์แต่ละขนาดมีความแตกต่างกัน ในบรรดาสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ มีค่าเฉลี่ยราคากลางจะอยู่ที่ประมาณ 160 บาท สำนักพิมพ์ขนาดกลาง ค่าเฉลี่ยราคากลางจะอยู่ที่ประมาณ 182 บาท และสำหรับสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก ค่าเฉลี่ยราคากลางจะอยู่ที่ประมาณ 248 บาท
ที่มา: รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และร้านหนังสือศูนย์หนังสือจุฬาฯ ตั้งแต่ ปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566
สัดส่วนช่วงค่าเฉลี่ยราคากลางหนังสือ จำแนกตามขนาดสำนักพิมพ์

สำนักพิมพ์ใหญ่
สำนักพิมพ์กลาง
สำนักพิมพ์เล็ก
โดยสำนักพิมพ์แต่ละขนาด มีทรัพยากรและความสามารถในการพิมพ์หนังสือเพื่อจัดจำหน่ายไม่เท่ากัน สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ หรือ ขนาดกลาง ที่มีทรัพยากรและเงินลงทุนสูง หรืออาจเริ่มดำเนินกิจการมานานก่อนสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก ก็อาจมีแนวโน้มที่จะผลิตหนังสือได้ในปริมาณมากกว่า ในขณะเดียวกันจำนวนนักเขียนและนักแปลที่ร่วมงานกับสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่และขนาดกลางก็มีจำนวนมากตามไปด้วย ซึ่งอาจแสดงให้เห็นว่าสำนักพิมพ์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการหล่อเลี้ยงและสร้างงานให้กับนักเขียนนักแปลอย่างต่อเนื่อง โดยในฐานะนักเขียน นักแปล ที่ต้องการการันตีว่าผลงานของตัวเองจะได้รับการตีพิมพ์ในปริมาณมาก หรือ มีโอกาสในการขายได้ ก็อาจมีแนวโน้มที่จะร่วมงานกับสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ และขนาดกลาง มากกว่าขนาดเล็ก
จากข้อมูลหนังสือทั้ง 28,693 รายการ จะเห็นว่าสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่มีทรัพยากรนักเขียนและนักแปลเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณแห่งละ 402 และ 470 คน ตามลำดับ ขณะที่สำนักพิมพ์ขนาดกลาง มีนักเขียนและนักแปลเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณแห่งละ 154 และ 34 คน ตามลำดับ ส่วนสำนักพิมพ์ขนาดเล็กจะมีนักเขียนและนักแปลเฉลี่ยประมาณแห่งละ 30 และ 7 คน ตามลำดับ
ที่มา: รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และร้านหนังสือศูนย์หนังสือจุฬาฯ ตั้งแต่ ปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566
เรืองเดช จันทรคีรี
บรรณาธิการและผู้จัดการมาตรฐานวรรณกรรมพิมพ์จำกัด
(มวจ.)
คุณเรืองเดช จันทรคีรี ให้ความเห็นว่า ผู้ประกอบการสำนักพิมพ์ขนาดเล็กในไทย ต้องเผชิญกับข้อจำกัดมากมายที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงและตามมาด้วยการตั้งราคาหน้าปกที่แพง ไม่ว่าจะเป็น
1.
สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก พิมพ์น้อย ต้นทุนต่อหน่วยสูง
สำนักพิมพ์ใหญ่
ผลิต 2,000 เล่ม
ต้นทุน 4 บาท/เล่ม
ลดต้นทุน
สำนักพิมพ์เล็ก
ผลิต 1,000 เล่ม
ต้นทุน 8 บาท/เล่ม
ต้นทุนสูง
หนึ่งในปัจจัยสำคัญซึ่งมีผลต่อต้นทุนการผลิตหนังสือต่อหน่วยมากที่สุดก็คือปริมาณในการผลิต สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่หรือขนาดกลาง ซึ่งผลิตได้มากต้นทุนต่อหน่วยก็จะลดลง ในทางตรงกันข้ามสำนักพิมพ์ขนาดเล็กซึ่งผลิตได้น้อยต้นทุนต่อหน่วยซึ่งเป็นต้นทุนคงที่จึงสูงกว่าโดยเปรียบเทียบ ตัวอย่างเช่น หากค่าออกแบบปกอยู่ที่ 8,000 บาท ผลิตหนังสือ 1,000 เล่ม ต้นทุนค่าออกแบบปกจะตกอยู่ที่ 8 บาท/เล่ม แต่หากผลิต 2,000 เล่ม ต้นทุนค่าออกแบบปกจะตกอยู่ที่ 4 บาท/เล่ม หรือแม้แต่ต้นทุนผันแปรบางประเภท เช่น ค่าลิขสิทธิ์ โดยทั่วไปจะคิดเป็นร้อยละของราคาปกต่อเล่ม ซึ่งหากผลิตในปริมาณมากขึ้นสำนักพิมพ์จะสามารถเจรจาขอลดอัตราค่าลิขสิทธิ์ลงได้
2.
เงื่อนไขเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
ราคาขาย
รัฐยกเว้นภาษีให้
ราคาต้นทุน
สนพ.จ่ายภาษีตามปกติ
=
ต้องตั้งราคา
ให้คุ้มทุนอยู่ดี
ปัจจุบันรัฐกำหนดให้หนังสือเป็นสินค้าที่ไม่ต้องบวกภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% เข้าไปในราคาหน้าปก หวังจะทำให้หนังสือมีราคาถูกลงในสายตาผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม สำนักพิมพ์ยังคงต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนต้นทุนการผลิตโดยไม่ได้รับยกเว้น หรือกล่าวได้ว่า "มีภาษีขาเข้าไม่มีภาษีขาออก" สำนักพิมพ์มีแรงจูงใจที่จะบวกภาระภาษีต้นทุนเพิ่มไปในราคาหน้าปกหนังสืออยู่ดี

ดังนั้น สำนักพิมพ์ขนาดเล็กซึ่งมีเงินทุนน้อยและต้องแบกรับภาระต้นทุนต่อหน่วยการผลิตหนังสือสูง เนื่องจากไม่สามารถลดต้นทุนต่อหน่วยได้ด้วยการซื้อปัจจัยการผลิตปริมาณมากๆ ในคราวเดียวได้เช่นเดียวกับสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง จึงต้องรับภาระภาษีมูลค่าเพิ่มสูงตามไปด้วยโดยเปรียบเทียบ
3.
หนังสือพิมพ์ซ้ำได้ (Backlist) ยังไม่คุ้มสำหรับสำนักพิมพ์ขนาดเล็กในระยะสั้น
สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่และขนาดกลาง
มีโอกาสใช้ประโยชน์จากหนังสือ
ที่ขายซ้ำได้เยอะ
สำนักพิมพ์ขนาดเล็ก
มีโอกาสใช้ประโยชน์จากหนังสือ
ที่ขายซ้ำได้น้อย
สำหรับสำนักพิมพ์ หนังสือที่สามารถพิมพ์ขายซ้ำได้เรื่อย ๆ หรือที่เรียกว่า Backlist เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตลง โดยหนังสือประเภทนี้มักถูกครอบครองโดยสำนักพิมพ์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งความคุ้มค่าของต้นทุนการผลิตที่ลดลงจะออกดอกออกผลเมื่อผลิตซ้ำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ในขณะที่สำนักพิมพ์ขนาดเล็กซึ่งมีแนวโน้มดำเนินกิจการในเวลาที่สั้น จึงมีโอกาสใช้ประโยชน์จาก Backlist ได้น้อยกว่า
4.
สำนักพิมพ์ขนาดเล็กสวมหมวกในฐานะผู้ผลิตเพียงใบเดียว
สำนักพิมพ์ใหญ่
ทำทุกอย่างได้
แทบทุกขั้นตอน
ลดต้นทุน
สำนักพิมพ์เล็ก
ต้องพึ่งพาคนอื่น
หลายขั้นตอน
ต้นทุนสูง
โดยทั่วไปสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ สามารถลดต้นทุนการดำเนินกิจการและเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินได้ด้วยการ สวมหมวกหลายใบในการดำเนินกิจการ เช่น เป็นทั้งผู้ผลิต ผู้กระจายหนังสือ และร้านหนังสือ ในเวลาเดียวกัน เมื่อทุกขั้นตอนเกิดขึ้นภายใต้ร่มบริษัทเดียวกันจึงสามารถนำยอดขายมาหมุนเป็นต้นทุนเพื่อผลิตสินค้าล็อตถัดไปได้ทันที ในทางตรงกันข้ามสำนักพิมพ์ขนาดเล็กซึ่งโดยทั่วไปสามารถสวมหมวกได้ใบเดียวในฐานะผู้ผลิต ในด้านต้นทุน จำเป็นต้องพึ่งพาสายส่งผู้กระจายหนังสือและร้านหนังสือ ซึ่งมักคิดค่าใช้จ่ายโดยหักการส่วนจากแบ่งยอดขายที่ 40-45% จากราคาปก จึงอาจเป็นแรงจูงใจให้ต้องตั้งราคาปกสูงกว่าขึ้นเพื่อครอบคลุมต้นทุนดังกล่าว ในด้านสภาพคล่องทางการเงิน พบว่ากว่ายอดขายจากร้านหนังสือจะย้อนกลับมาถึงสำนักพิมพ์ อาจต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 1 เดือนเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่า...การโฟกัสตลาดผู้อ่านที่ต่างกันของสำนักพิมพ์ทั้งขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ถือเป็นกลไกที่ช่วยให้ตลาดหนังสือมีความหลากหลายในแง่หมวดหมู่ โดยเฉพาะสำนักพิมพ์ขนาดเล็กซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการผลิตหนังสือจากหมวดหมู่ที่สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่และกลางไม่ได้โฟกัส
อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดหลายด้าน สำนักพิมพ์ขนาดเล็กจึงมีต้นทุนในการผลิตหนังสือที่สูง ส่งผลให้ราคาหน้าปกสูงตามได้ด้วย สิ่งนี้จึงอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้อ่านมีอุปสรรคในการเข้าถึงหนังสือจากสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก
สำรวจตลาดหนังสือกันไปแล้ว…มาดูหนังสือที่คุณเลือกกันดีกว่า
หมวดหมู่
หนังสือที่คุณเลือก คิดเป็น
0%
จากหนังสือเล่มเดี่ยวที่เราสำรวจทั้งหมด
87,310 ปก
ขนาดสำนักพิมพ์ที่เลือก
ทุกขนาด
ช่วงราคา(บาท)
ทุกราคา
ไปรับหนังสือ
ที่ไหนดี?
อีกปัจจัยสำคัญที่นักอ่านทุกคนต้องนึกถึงอย่างแน่นอนเวลาอยากได้หนังสือสักเล่ม นั่นก็คือช่องทางไปเลือกดูและหาซื้อหนังสือ ในปัจจุบันสำหรับตลาดหนังสือไทยมีช่องทางมากมายที่เป็นสื่อกลาง ซึ่งพร้อมจะพาผู้อ่านมาเจอกับหนังสือ… มีช่องทางไหนบ้างเราไปดูกันเลย
สำหรับเมืองไทย ปัจจุบันเรามีร้านหนังสือที่ตั้งขายแบบมีหน้าร้านแบ่งเป็น 2 ประเภท (1) ร้านหนังสือสาขาย่อยที่อยู่ภายใต้บริษัทเดียวกัน หรือ เชนสโตร์ (Chain Store) จำนวน 7 ร้าน 625 สาขา และ (2) ร้านหนังสืออิสระ จำนวน 171 ร้าน กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
จากข้อมูลจะเห็นว่าแม้สาขาของร้านหนังสือจะกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศไทยเกือบทุกจังหวัด แต่ก็มีเพียงจังหวัดใหญ่ ๆ ตามภูมิภาคเท่านั้นที่จะมีร้านหนังสือให้ได้เลือกอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น กรุงเทพฯ ชลบุรี เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น ฯลฯ ในขณะที่จังหวัดเล็ก ๆ อย่าง ชัยนาท ตราด ระนอง มุกดาหาร ฯลฯ จะมีร้านหนังสือเพียง 1-2 ร้านเท่านั้น ขณะที่จังหวัดอย่าง แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดที่ไม่มีร้านหนังสือเปิดขายแบบมีหน้าร้านเลย
ที่มา: สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) และ
สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT)
ไม่ใช่เพียงแค่ร้านหนังสือเท่านั้นที่เป็นช่องทางหลักให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงหนังสือได้ แต่ปัจจุบันสำนักพิมพ์เองก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ผู้อ่านจะสามารถเข้าถึงหนังสือได้เช่นกันผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งจากทาง Website และสื่อ Social Media ต่างๆ
จากข้อมูลการสำรวจมีสำนักพิมพ์ที่เป็นสมาชิกของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) จำนวนทั้งหมด 411 แห่ง โดยสำนักพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีช่องทางออนไลน์ไว้บริการให้กับกับผู้อ่าน แต่ก็ยังมีสำนักพิมพ์อีกราว 50 กว่าแห่งที่ไม่มีช่องทางออนไลน์ นั่นหมายความว่าผู้อ่านจะสามารถเข้าถึงหนังสือจากสำนักพิมพ์เหล่านี้ได้ ผ่านทางหน้าร้านหนังสือเพียงเท่านั้น
ที่มา: สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT)
จำนวนสำนักพิมพ์ในตลาดหนังสือที่มีช่องทางออนไลน์ (Website และ Social Media)
นอกจากหน้าร้าน หรือ ช่องทางออนไลน์ของสำนักพิมพ์แล้ว ยังมีทางเลือกยอดนิยมอื่น ๆ ที่เป็นตัวกลางช่วยให้นักอ่านได้รู้จักกับหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดสาธารณะ การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับหนังสือ การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการอ่านระหว่างกลุ่มนักอ่านด้วยกันเองหรือจัดโดยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการส่งเสริมการอ่าน ฯลฯ
จากที่สำรวจตลาดหนังสือกันไปเราคงพอเห็นแล้วว่า แทบทุกองค์ประกอบในระบบนิเวศของวงการหนังสือ ล้วนมีข้อจำกัดที่อาจส่งผลต่อการเข้าถึงของนักอ่านโดยทั้งสิ้น ตั้งแต่ปัจจัยต้นทางอย่างผู้ผลิตไปจนถึงปลายทางอย่างช่องทางการสั่งซื้อ
เรามาดูข้อสรุปในภาพรวมกันดีกว่า ว่าข้อมูลจากตลาดหนังสือที่สำรวจกันไปบอกอะไรเราได้บ้าง
ภาพรวมตลาดหนังสือไทย
ในมิติความหลากหลาย ราคา และสำนักพิมพ์
จากทั้งหมดที่สำรวจกันไปเราคงพอเห็นได้ว่า
หากพูดถึง ความหลากหลาย ในแง่หมวดหมู่ ตลาดหนังสือไทยก็จัดได้ว่ามีหมวดหมู่ให้ผู้อ่านได้เลือกมากมาย อย่างไรก็ตาม หากมองในแง่พฤติกรรม กลับมีหนังสือเพียงบางหมวดเท่านั้นที่ได้รับความนิยมสูงในหมู่นักอ่าน
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ราคา ของหนังสือบางหมวดหมู่ที่สูงบวกกับจำนวนปกที่น้อย ที่อาจกลายเป็นอุปสรรคสำหรับนักอ่านในการเข้าถึงหนังสือหมวดเหล่านั้น
สำหรับ ฝั่งผู้ผลิต จะเห็นได้ว่าบริบทของตลาดที่สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก โฟกัสกลุ่มผู้อ่านต่างกัน ก็เป็นกลไกที่ช่วยให้หมวดหมู่หนังสือมีความหลากหลาย อย่างไรก็ตาม สำหรับสำนักพิมพ์ขนาดเล็กที่มีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด ทำให้การผลิตหนังสือในปริมาณ (Volume) มากไม่ได้และต้องจำหน่ายในราคาสูงก็อาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้อ่านเข้าถึงหนังสือจากสำนักพิมพ์เหล่านี้ได้น้อย
ทำอย่างไร…
ให้คนไทย

เข้าถึงตลาดหนังสือ
ได้มากขึ้น

?
ดร.สุธิดา วิมุตติโกศล
อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.สุธิดา วิมุตติโกศล แสดงความคิดเห็นไว้ว่า รัฐสามารถมีบทบาทในการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงหนังสือได้มากขึ้น โดยเฉพาะหนังสือจากสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก ซึ่งประสบปัญหาเรื่องเงินทุนเป็นสำคัญ ได้ผ่านการสนับสนุน 2 รูปแบบ
1.
สนับสนุนทางตรง
แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต
โดยการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่สำนักพิมพ์ต้องแบกรับ เช่น ค่าจัดพิมพ์ และค่าแปลเนื้อหา ซึ่งอาจทำในรูปแบบเงินทุนหรือเงินรางวัล เช่น ให้สำนักพิมพ์นำงานเขียนต่างประเทศที่ต้องการแปล หรือ ไอเดียเนื้อหาที่ต้องการตีพิมพ์เข้ามาเสนอเพื่อพิจารณาขอทุน นอกจากนี้รัฐอาจช่วยสนับสนุนกลไกที่ช่วยเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับสำนักพิมพ์มากขึ้น เช่น การเป็นตัวกลางในการเจรจาต่อรองเรื่องค่าลิขสิทธิ์หนังสือแทนสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก เป็นต้น
2.
สนับสนุนทางอ้อม
พัฒนาระบบการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน (Reading Culture)
โดยการเพิ่มงบประมาณให้กับห้องสมุดสาธารณะที่มีจำนวนมากและกระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ เพื่อซื้อหนังสือที่มีหมวดหมู่และเนื้อหาหลากหลายเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการคัดกรองของบรรณารักษ์ที่มีความรอบรู้ และผ่านระบบที่เปิดให้ประชาชนเสนอได้ว่าต้องการอ่านหนังสืออะไร ในอีกแง่หนึ่งก็เป็นการเปิดโอกาสให้นักอ่านที่อาจไม่มีทุนทรัพย์ซื้อหนังสือเองสามารถเข้าถึงหนังสือได้ฟรีผ่านการใช้บริการห้องสมุดอีกด้วย

การสนับสนุนงบเพื่อพัฒนาระบบห้องสมุดนี้ยังอาจใช้เป็นกลไกหนึ่งในการช่วยการันตีรายได้ของสำนักพิมพ์ขนาดเล็กที่ผลิตหนังสือเนื้อหาเฉพาะทาง โดยมีห้องสมุดสาธารณะเป็นช่องทางหลักในการซื้อหรือประชาสัมพันธ์หนังสือ
สถาบันอุทยานการเรียนรู้
TK Park
จากข้อมูลตลาดหนังสือของไทย จะเห็นว่ากลไกตลาดตามปกติยังไม่สามารถทำให้หนังสือในตลาดมีความหลากหลายเท่าที่ควร โดยเฉพาะหนังสือดีมีคุณค่าจำนวนไม่น้อย ทั้งของต่างประเทศและของไทย ไม่ได้รับการแปลหรือบางเรื่องมีการจัดพิมพ์เป็นจำนวนน้อยและใช้เวลาจำหน่ายยาวนาน ส่งผลให้สำนักพิมพ์ต้องตั้งราคาหนังสือสูง นักอ่านชาวไทยจึงขาดโอกาสที่จะได้รู้จักและเข้าถึงหนังสือคุณภาพอีกมาก
ข้อเสนอเชิงนโยบายหรือมาตรการส่งเสริมการพัฒนาหนังสือ ภาครัฐเข้ามามีบทบาทแทรกแซงบางส่วน โดยจะไม่เข้ามาเป็นผู้เล่นหลัก (Key Player) แต่เป็นผู้สร้างแต้มต่อให้กับผู้เล่นในตลาด และเป็นผู้กระตุ้นความต้องการอ่าน ในที่นี้ เพื่อให้เกิดวงจร
คนอ่านเพิ่ม
จำนวนพิมพ์เพิ่ม
ยอดขายเพิ่ม
ราคาปกลดลง
โดยสำนักพิมพ์ขนาดเล็กและห้องสมุด จะเป็นสองกลไกสำคัญในการแก้ปัญหาการเข้าถึงหนังสือ ทั้งด้านความหลากหลาย คุณภาพ และราคาที่เหมาะสม
1.
จัดตั้ง ‘กองทุนหนังสือ’
หรือ Thailand Book Fund
โดยให้มีบทบาทสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาหนังสือ มุ่งใช้สำนักพิมพ์ขนาดเล็กเป็นกลไกและเป้าหมายอยู่ที่การขยายตัวของนักอ่านรายใหม่ ตัวอย่างภารกิจของกองทุนหนังสือ เช่น
2.
การสร้างเครือข่ายระบบห้องสมุด
ในชุมชน
ร่วมกับบุคคล องค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกแบบและพัฒนา ‘ระบบห้องสมุดในชุมชน’ โดยพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะเชื่อมโยงทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดโรงเรียน และ แหล่งการอ่าน เพื่อให้เกิดผลดังต่อไปนี้
หมายเหตุ: ข้อเสนอข้างต้นได้รับแรงบันดาลใจและไอเดียบางส่วนมาจาก
รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาการพิมพ์ (2564) โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) และหนังสือ TK FORUM 2009 ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อเสนอนโยบายการอ่านจากชุมชนนักปฏิบัติ (2552) โดย สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (ปัจจุบันคือ สถาบันอุทยานการเรียนรู้)
ขอขอบคุณ
  • ระบบสารสนเทศทางด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมเพื่อประชาชนทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักหอสมุดแห่งชาติ
  • สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT)
  • ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์
  • ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คุณเรืองเดช จันทรคีรี บรรณาธิการและผู้จัดการมาตรฐานวรรณกรรมพิมพ์จำกัด (มวจ.)
  • ดร.สุธิดา วิมุตติโกศล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ห้องสมุดรังไหม
  • ห้องสมุดจินดา
เกี่ยวกับ Project
  • รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ร้านซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์และศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคัดเลือกรายการหนังสือที่ผลิตอยู่ในช่วงปี 2548 ถึง เดือนกรกฎาคม 2566 จำนวนทั้งสิ้น 87,310 รายการ ทั้งรายการหนังสือเล่มเดี่ยวและหนังสือชุด (Box set)
  • วิเคราะห์หัวข้อหมวดหมู่ โดยจำแนกหนังสือทั้ง 87,310 รายการ ออกเป็นหมวดหมู่ตามหลักบรรณารักษศาสตร์
  • วิเคราะห์หัวข้อราคาโดยแยกสำรวจเฉพาะหนังสือเล่มเดี่ยว (ไม่นับรายการประเภท หนังสือชุด (Box set)) จำนวนทั้งสิ้น 86,070 ปก
  • วิเคราะห์หัวข้อสำนักพิมพ์โดยแยกสำรวจเฉพาะหนังสือเล่มเดี่ยวและหนังสือชุด (Box set) ซึ่งผลิตโดยสำนักพิมพ์ที่มีข้อมูลในฐานข้อมูลของสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) จำนวนทั้งสิ้น 28,693 รายการ และสำรวจเฉพาะหนังสือเล่มเดี่ยวในหัวข้อราคากับสำนักพิมพ์ จำนวนทั้งสิ้น 27,985 ปก
Share